เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์นานาชาติที่กรุงโตเกียว (Tokyo International Furniture Fair) เพื่อศึกษาแนวโน้มตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยในประเทศญี่ปุ่น การที่ภาครัฐและเอกชนไทยต้องแสวงหาข้อมูลและเปิดหูเปิดตาให้กว้างไกลก็เพราะ ตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นกำลังจะถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศ คู่แข่ง ถ้าไม่รีบดำเนินการวางแผนปรับกลยุทธ์ในด้านการตลาด เครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยคงจะถูกคู่แข่งเบียดตกสนามการค้าในญี่ปุ่นอย่าง แน่นอน
ญี่ปุ่นเป็นตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญของไทย นอกเหนือจากสหรัฐฯ และยุโรป แต่ในปัจจุบันสินค้าไทยกำลังประสบปัญหาในตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไทย เพราะถึงแม้ว่าการส่งออกเครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าไทยในญี่ปุ่นกลับลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากสินค้าของประเทศคู่แข่งรายใหม่ๆ ของไทย เช่น มาเลเซียและจีน เข้ามาแย่งตลาดสินค้าประเภทนี้ เพราะมีราคาที่ถูกกว่าของไทย นอกจากนี้ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทยยังประสบปัญหาการส่งออกวัตถุดิบไม้ยาง ส่งผลให้ประเทศไทยเสียเปรียบในแง่ความสามารถในเชิงแข่งขันอย่างมาก ดังนั้น คุณเทียนชัย ประยืนยงค์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ซึ่งนำคณะนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์นานาชาติที่ญี่ปุ่น จึงได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยตลอดจนประเมินแนวโน้มตลาด เครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
อุปนายกสมาคมเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยกล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีโรงงานเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย 2,500 แห่ง ใช้แรงงานห้าแสนถึงหกแสนคน เป็นโรงงานผลิตเพื่อการส่งออก 500 โรง โดยส่งไปญี่ปุ่น 40% ส่งไปสหรัฐฯ 30% ส่วนอีก 10% ส่งไปยุโรป มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ประมาณ 30,000 ล้านบาท หากรวมสินค้าวัสดุก่อสร้างจะมีมูลค่าสูง 50,000 ล้านบาท และมีความเห็นว่าเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยมีความได้เปรียบในแง่วัสดุ โดยมีมาเลเซียเป็นคู่แข่งสำคัญ สำหรับตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นนั้น นำเข้าจากจีนมากที่สุด รองลงไปเป็นไต้หวัน สหรัฐฯ และไทย และโดยที่ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อยู่ในช่วงชะลอตัว ทำให้คู่แข่งอื่นๆ หันมาสนใจต่อตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น สำหรับจุดแข็งของมาเลเซียนั้นอยู่ที่การผลิตสินค้าตามรูปแบบและเน้นการแข่ง ขันด้านราคา ส่วนจุดแข็งของไทยอยู่ที่การผลิตสินค้าตามสั่ง
เมื่อได้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่นแล้ว ผู้ผลิตเครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยคงจะปรับกลยุทธ์ในการผลิตให้ตรงกับความ ต้องการของลูกค้าญี่ปุ่น ไท ดูโตเชื่อว่าด้วยฝีมืออันละเอียดประณีตของช่างไทยจะทำให้ได้สินค้าที่มี คุณภาพและไม่เป็นรองสินค้าจากประเทศคู่แข่ง เพียงแต่ผู้ผลิตไทยจะเน้นการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงเพื่อลดต้นทุนในการ ผลิตให้สามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าจากประเทศอื่นๆ เฟอร์นิเจอร์ไทยจะต้องครองความเป็นหนึ่งในตลาดโลกอย่างแน่นอน
แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/web/224.php?id=1861
Why did you report the same article twice?
ตอบลบRemove one and do the SWOT.