วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOT ตลาดเครื่องเฟอนิเจอร์ไทยในญี่ปุ่น

STRENGTH (จุดแข็งหรือจุดเด่น)
  • เฟอนิเจอร์ไทยมีตลาดในญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว
  • มีความเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเฟอนิเจอร์ของไทย
  • สินค้าไทยมีความประณีต
  • ไทยจะทำสินค้าตามสั่ง 
WEAKNESSES (จุดอ่อนหรือจุดด้อย)
  • สินค้าไทยมีราคาแพงกว่าของคู่แข่ง
  • มีปัญหาในการขนส่งวัตถุดิบ
OPPORTUNITIES (โอกาส)
  • ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อยู่ในช่วงชะลอตัว อาจทำให้ส่วนแบ่งตลาดเฟอนิเจอร์ไทยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
  • ไทยมีความได้เปรียบในแง่วัสดุ
THREATS (อุปสรรค)
  • ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทยยังประสบปัญหาการส่งออกวัตถุดิบไม้ยาง
  • มาเลเซียซึ่งผลิตสินค้าตามรูปแบบและเน้นการแข่ง ขันด้านราคา
  • มีประเทศคู่แข่งขันเข้ามาเจาะตลาดมากขึ้นเนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาชะลอตัว 

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวโน้มตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยในญี่ปุ่น

               เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์นานาชาติที่กรุงโตเกียว (Tokyo International Furniture Fair) เพื่อศึกษาแนวโน้มตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยในประเทศญี่ปุ่น การที่ภาครัฐและเอกชนไทยต้องแสวงหาข้อมูลและเปิดหูเปิดตาให้กว้างไกลก็เพราะ ตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นกำลังจะถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศ คู่แข่ง ถ้าไม่รีบดำเนินการวางแผนปรับกลยุทธ์ในด้านการตลาด เครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยคงจะถูกคู่แข่งเบียดตกสนามการค้าในญี่ปุ่นอย่าง แน่นอน

               ญี่ปุ่นเป็นตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญของไทย นอกเหนือจากสหรัฐฯ และยุโรป แต่ในปัจจุบันสินค้าไทยกำลังประสบปัญหาในตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไทย เพราะถึงแม้ว่าการส่งออกเครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าไทยในญี่ปุ่นกลับลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากสินค้าของประเทศคู่แข่งรายใหม่ๆ ของไทย เช่น มาเลเซียและจีน เข้ามาแย่งตลาดสินค้าประเภทนี้ เพราะมีราคาที่ถูกกว่าของไทย นอกจากนี้ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทยยังประสบปัญหาการส่งออกวัตถุดิบไม้ยาง ส่งผลให้ประเทศไทยเสียเปรียบในแง่ความสามารถในเชิงแข่งขันอย่างมาก ดังนั้น คุณเทียนชัย ประยืนยงค์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ซึ่งนำคณะนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์นานาชาติที่ญี่ปุ่น จึงได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยตลอดจนประเมินแนวโน้มตลาด เครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

                อุปนายกสมาคมเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยกล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีโรงงานเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย 2,500 แห่ง ใช้แรงงานห้าแสนถึงหกแสนคน เป็นโรงงานผลิตเพื่อการส่งออก 500 โรง โดยส่งไปญี่ปุ่น 40% ส่งไปสหรัฐฯ 30% ส่วนอีก 10% ส่งไปยุโรป มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ประมาณ 30,000 ล้านบาท หากรวมสินค้าวัสดุก่อสร้างจะมีมูลค่าสูง 50,000 ล้านบาท และมีความเห็นว่าเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยมีความได้เปรียบในแง่วัสดุ โดยมีมาเลเซียเป็นคู่แข่งสำคัญ สำหรับตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นนั้น นำเข้าจากจีนมากที่สุด รองลงไปเป็นไต้หวัน สหรัฐฯ และไทย และโดยที่ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อยู่ในช่วงชะลอตัว ทำให้คู่แข่งอื่นๆ หันมาสนใจต่อตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น สำหรับจุดแข็งของมาเลเซียนั้นอยู่ที่การผลิตสินค้าตามรูปแบบและเน้นการแข่ง ขันด้านราคา ส่วนจุดแข็งของไทยอยู่ที่การผลิตสินค้าตามสั่ง

        เมื่อได้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่นแล้ว ผู้ผลิตเครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยคงจะปรับกลยุทธ์ในการผลิตให้ตรงกับความ ต้องการของลูกค้าญี่ปุ่น ไท ดูโตเชื่อว่าด้วยฝีมืออันละเอียดประณีตของช่างไทยจะทำให้ได้สินค้าที่มี คุณภาพและไม่เป็นรองสินค้าจากประเทศคู่แข่ง เพียงแต่ผู้ผลิตไทยจะเน้นการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงเพื่อลดต้นทุนในการ ผลิตให้สามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าจากประเทศอื่นๆ เฟอร์นิเจอร์ไทยจะต้องครองความเป็นหนึ่งในตลาดโลกอย่างแน่นอน

แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/web/224.php?id=1861

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



การเมืองการปกครองของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข     แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ   สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของชาวญี่ปุ่น  องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国会 Kokkai ?) หรือที่เรียก "ไดเอ็ต" เป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ญี่ปุ่น: 衆議院 Shugi-in ?) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระ ดำรงตำแหน่งสี่ปี และมนตรีสภา (ญี่ปุ่น: 参議院 Sangi-in ?) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[47]

ที่มา 
http://board.japanfc.com/index.php?topic=1239.0;prev_next=next

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายและความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศ และ การตลาดระหว่างประเทศ




  
การค้าระหว่างประเทศ ( International  Trade )
การค้าระหว่างประเทศ ( International  Trade )  หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ระหว่างประเทศ ต่างๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจาก แต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่ง ผลิตสินค้าหนึ่งแต่ ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าชนิดหนึ่งที่ตนผลิตได้ ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
     การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ
 ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
     ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
   1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
   4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต
     การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด  ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าต่ำลงไปด้วย
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต 
 ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิต
     การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป
     เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา


การตลาดระหว่างประเทศคืออะไร
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้

 สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อใหสินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ(Multinational)
การค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศแตกต่างกันคือ
                       
                       การค้าระหว่างประเทศเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า และ บริการ ระหว่างประเทศ เนื่องจาก แต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องนำสินค้าชนิดหนึ่งที่ตนผลิตได้ ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง ส่วนการตลาดระหว่างประเทศ คือกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาด เพื่อให้สินค้าและบริการ  สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล หรือ องค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการขายแบบมืออาชีพ ( Selling Skills for Technical Talent )

บทความโดย : อ.สุกัญญา/ WWW.SARA-DD.COM


งานขายมีลักษณะเกี่ยวกับความสามารถในการชักจูงใจและโน้มน้าว หรือใช้ศิลปะการขายเป็นสำคัญ การขายเกิดจากพฤติกรรมภายใน ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ความนิยมชมชอบ ความพึงพอใจ ความเต็มใจของผู้ซื้อ ฯลฯ ดังนั้นนักขายจะต้องมีคุณสมบัติและความรอบรู้หลายประการ เช่น พื้นฐานการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขายโดยตรง จิตวิทยาในการปรับตัวเข้าหาลูกค้า การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติงานขาย และการปฏิบัติภายหลังสิ้นสุดการขาย ดังนั้นผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญของการขายเป็นหลัก นอกจากกิจการจะมีสินค้าพร้อมเพื่อขาย มีลูกค้ามุ่งหวังเป็นเป้าหมายสำคัญในการขาย มีบุคลากรปฏิบัติงานขายยังไม่เพียงพอสำหรับการสร้างเสริมการขายให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยศิลปะการขายที่นักขายเหล่านั้นนำมาใช้ในระหว่างการปฏิบัติงานขายด้วย จึงจะบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2553 : ออนไลน์)

ศิลปะการขาย

ทักษะในการขายด้วยตัวบุคคล (Personal Selling) ที่ผู้ขายสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อผู้ซื้อโดยการติดต่อสื่อสารให้ข่าวสารที่จำเป็นเพื่อการตัดสินใจในการซื้อ หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง ทักษะที่จะนำเอาอรรถประโยชน์ด้านจิตวิทยาในการโน้มน้าวใจให้เกิดการติดสินใจซื้อเกิดขึ้น

เทคนิคการขาย

เทคนิคการขาย ที่สำคัญมีดังนี้

1. การสรรหาผู้คาดหวัง (Prospecting) ได้แก่ การหาลูกค้าโดยการรวบรวมข้อมูลจาก สมุดรายชื่อต่างๆ งานแสดงสินค้า สมาคมการค้า ฯลฯ เพื่อหารายชื่อผู้ที่น่าจะสนใจในตัวสินค้า หรือจากการที่ลูกค้าเก่าหรือคนรู้จักแนะนำผู้ที่สนใจให้ จากนั้นจะดำเนินการติดต่อทางโทรศัพท์ จดหมาย หรือ E-mail เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นและนัดพบลูกค้าต่อไป

2. การเตรียมการเพื่อเข้าหาผู้มุ่งหวัง (The Pre-approach) คือกิจกรรมที่ได้กระทำขึ้นก่อนที่จะเข้าไปทำการเสนอขาย โดยพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าให้มากที่สุด ทั้งความต้องการและพฤติกรรมการซื้อ แล้วจึงวางแผนกลยุทธ์ในการขาย

3. การเข้าพบผู้มุ่งหวัง (Approach) เพื่อเปิดการขาย หรือเรียกว่าการสัมภาษณ์เพื่อการขาย เมื่อเข้าพบต้องทำให้ลูกค้าประทับใจในมารยาทและการแต่งกาย หลังจากนั้นจึงทำการเสนอขาย

4. การเสนอขาย (Presentation) การเสนอขายโดยบรรยายเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งมีเทคนิคที่ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดุดใจ นำไปสู่ความสนใจ แล้วจึงเร่งเร้าให้เกิดความต้องการเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ผู้ขายควรพยายามสร้างความต้องการให้เกิดขึ้นกับลูกค้าโดยการรับรู้ถึงปัญหาของตนและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร

5. การขจัดข้อโต้แย้ง (Handing Objection) ในระหว่างการขาย ลูกค้าอาจมีข้อโต้แย้งต่างๆ เช่น ไม่พอใจในราคา ยังไม่ถูกใจ หรือสินค้ามีข้อบกพร่อง ผู้ขายต้องพยายามรักษาบรรยากาศให้เป็นบวกเสมอ และพยายามตอบข้อสงสัยอย่างใจเย็น อดทน และมั่นใจ

6. ปิดการขาย (Closing the Sales) เป็นการสรุปให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ โดยจะเสนอทางเลือก ให้เร็วและง่ายขึ้น และอาจมีการให้ข้อเสนอพิเศษ เช่น คิดราคาพิเศษ ให้ส่วนลดหรือของแถม เป็นต้น

7. การติดตามผล (Follow up) เช่นบริการหลังการขาย การเยี่ยมเยียนลูกค้า เมื่อสั่งซื้อแล้วจะต้องมีการให้บริการต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การส่งมอบ ติดตั้ง ให้คำแนะนำ รวมไปถึงการเยี่ยมเยียนลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ รักษาสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งนำไปสู่การซื้อซ้ำได้ในอนาคต

8. การรายงานผลทางการขาย (Sales Report) เมื่อผู้ขายได้ทำการปิดการขายเสร็จแล้วการเขียนรายงานการขายนี้จะเป็นเครื่องช่วยให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินของผู้ขาย (วัชรี ว่องอรุณ, 2553 : ออนไลน์ )





ทั้งนี้ก่อนการขายสินค้าใดๆ ก็ตาม 1) ผู้ขายจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าหรือบริการมากพอที่จะให้ข้อมูลแก่ลูกค้าได้อย่างครบถ้วน ทั้งในเรื่องราคา ส่วนลด หรือเงื่อนไขต่างๆ ผู้ขายจะต้องแสดงออกผ่านคำพูดด้วยความมั่นใจ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นต่อสินค้า หรือบริการที่นำเสนอขาย 2) พูดให้เป็นธรรมชาติ โดยใช้คำพูดที่สุภาพ 3) หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์แสลง หรือศัพท์เฉพาะที่ลูกค้าฟังแล้วไม่เข้าใจ 4) หมั่นเสนอแนะถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากสินค้าหรือบริการ 5) พยายามตอบข้อซักถามจากลูกค้า เพื่อลูกค้าจะได้รับทราบข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เป็นจริง วิธีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการขายมากขึ้น 6) อดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นได้ในระหว่างการสนทนา เช่น คำตำหนิ คำร้องเรียน การปฏิเสธ การโต้แย้งในเรื่องส่วนลดของสินค้าหรือบริการ โดยผู้ขายต้องไม่แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต่อลูกค้า 7) สร้างสายสัมพันธ์ระยะยาว เพื่อให้ลูกค้าเก่าเกิดการซื้อซ้ำ รวมถึงช่วยบอกต่อ และชักชวนเพื่อน หรือญาติสนิทให้สนใจซื้อสินค้าด้วย




นอกจากนี้การจูงใจลูกค้าสามารถทำได้ 3 วิธีการด้วยกันคือ 1) จูงใจลูกค้าด้วยเหตุผล หมายถึง การอธิบายคุณลักษณะ คุณภาพ พร้อมทั้งประสิทธิภาพของตัวสินค้าหรือบริการ โดยมีน้ำหนักเพียงพอที่จะโน้มน้าวให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือได้ 2) จูงใจลูกค้าด้านอารมณ์ คือ สินค้าและบริการของผู้ขายมี


ส่วนช่วยให้ลูกค้ารู้สึกดีด้านใดบ้าง เช่น เมื่อเลือกใช้สินค้า หรือบริการของผู้ขายแล้ว ลูกค้าจะมีความสง่า ภูมิฐาน มีรสนิยม นำสมัย รู้สึกสบาย หรือมีความปลอดภัยจากอันตราย เป็นต้น 3) จูงใจลูกค้าด้วยระบบบริหารขององค์กร คือ มีระบบการจัดส่งสินค้าตรงเวลา ส่งสินค้าถูกต้องครบตามจำนวน มีบริการที่ดี หรือมีสินค้าให้เลือกมากมาย มีบริการหลังการขายที่เชื่อถือได้ เป็นต้น (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2553 : ออนไลน์)

เอกสารอ้างอิง

วัชรี ว่องอรุณ. 2553. เทคนิคการขายโดยใช้พนักงานขาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.ismed.or.th/SME2/src/upload/knowledge/1181621639466e1d87d3519.pdf

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2553. เทคนิคการขาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.ismed.or.th/SME/src/bin/controller.php?view=knowledgeInsite.KnowledgesDetail&p=&nid=&sid=64&id=370&left=76&right=77&level=3&lv1=3

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กระทรวงศึกษาธิการ). 2553. การข [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://school.obec.go.th/wichienmatu2/doc/business2.htm