วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOT ตลาดเครื่องเฟอนิเจอร์ไทยในญี่ปุ่น

STRENGTH (จุดแข็งหรือจุดเด่น)
  • เฟอนิเจอร์ไทยมีตลาดในญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว
  • มีความเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเฟอนิเจอร์ของไทย
  • สินค้าไทยมีความประณีต
  • ไทยจะทำสินค้าตามสั่ง 
WEAKNESSES (จุดอ่อนหรือจุดด้อย)
  • สินค้าไทยมีราคาแพงกว่าของคู่แข่ง
  • มีปัญหาในการขนส่งวัตถุดิบ
OPPORTUNITIES (โอกาส)
  • ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อยู่ในช่วงชะลอตัว อาจทำให้ส่วนแบ่งตลาดเฟอนิเจอร์ไทยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
  • ไทยมีความได้เปรียบในแง่วัสดุ
THREATS (อุปสรรค)
  • ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทยยังประสบปัญหาการส่งออกวัตถุดิบไม้ยาง
  • มาเลเซียซึ่งผลิตสินค้าตามรูปแบบและเน้นการแข่ง ขันด้านราคา
  • มีประเทศคู่แข่งขันเข้ามาเจาะตลาดมากขึ้นเนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาชะลอตัว 

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวโน้มตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยในญี่ปุ่น

               เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์นานาชาติที่กรุงโตเกียว (Tokyo International Furniture Fair) เพื่อศึกษาแนวโน้มตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยในประเทศญี่ปุ่น การที่ภาครัฐและเอกชนไทยต้องแสวงหาข้อมูลและเปิดหูเปิดตาให้กว้างไกลก็เพราะ ตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นกำลังจะถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศ คู่แข่ง ถ้าไม่รีบดำเนินการวางแผนปรับกลยุทธ์ในด้านการตลาด เครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยคงจะถูกคู่แข่งเบียดตกสนามการค้าในญี่ปุ่นอย่าง แน่นอน

               ญี่ปุ่นเป็นตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญของไทย นอกเหนือจากสหรัฐฯ และยุโรป แต่ในปัจจุบันสินค้าไทยกำลังประสบปัญหาในตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไทย เพราะถึงแม้ว่าการส่งออกเครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าไทยในญี่ปุ่นกลับลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากสินค้าของประเทศคู่แข่งรายใหม่ๆ ของไทย เช่น มาเลเซียและจีน เข้ามาแย่งตลาดสินค้าประเภทนี้ เพราะมีราคาที่ถูกกว่าของไทย นอกจากนี้ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของไทยยังประสบปัญหาการส่งออกวัตถุดิบไม้ยาง ส่งผลให้ประเทศไทยเสียเปรียบในแง่ความสามารถในเชิงแข่งขันอย่างมาก ดังนั้น คุณเทียนชัย ประยืนยงค์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ซึ่งนำคณะนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์นานาชาติที่ญี่ปุ่น จึงได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยตลอดจนประเมินแนวโน้มตลาด เครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยในญี่ปุ่นไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

                อุปนายกสมาคมเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยกล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีโรงงานเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย 2,500 แห่ง ใช้แรงงานห้าแสนถึงหกแสนคน เป็นโรงงานผลิตเพื่อการส่งออก 500 โรง โดยส่งไปญี่ปุ่น 40% ส่งไปสหรัฐฯ 30% ส่วนอีก 10% ส่งไปยุโรป มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ประมาณ 30,000 ล้านบาท หากรวมสินค้าวัสดุก่อสร้างจะมีมูลค่าสูง 50,000 ล้านบาท และมีความเห็นว่าเครื่องเฟอร์นิเจอร์ไทยมีความได้เปรียบในแง่วัสดุ โดยมีมาเลเซียเป็นคู่แข่งสำคัญ สำหรับตลาดเครื่องเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นนั้น นำเข้าจากจีนมากที่สุด รองลงไปเป็นไต้หวัน สหรัฐฯ และไทย และโดยที่ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อยู่ในช่วงชะลอตัว ทำให้คู่แข่งอื่นๆ หันมาสนใจต่อตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น สำหรับจุดแข็งของมาเลเซียนั้นอยู่ที่การผลิตสินค้าตามรูปแบบและเน้นการแข่ง ขันด้านราคา ส่วนจุดแข็งของไทยอยู่ที่การผลิตสินค้าตามสั่ง

        เมื่อได้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่นแล้ว ผู้ผลิตเครื่องเฟอร์นิเจอร์ของไทยคงจะปรับกลยุทธ์ในการผลิตให้ตรงกับความ ต้องการของลูกค้าญี่ปุ่น ไท ดูโตเชื่อว่าด้วยฝีมืออันละเอียดประณีตของช่างไทยจะทำให้ได้สินค้าที่มี คุณภาพและไม่เป็นรองสินค้าจากประเทศคู่แข่ง เพียงแต่ผู้ผลิตไทยจะเน้นการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงเพื่อลดต้นทุนในการ ผลิตให้สามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าจากประเทศอื่นๆ เฟอร์นิเจอร์ไทยจะต้องครองความเป็นหนึ่งในตลาดโลกอย่างแน่นอน

แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/web/224.php?id=1861

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



การเมืองการปกครองของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข     แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ   สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของชาวญี่ปุ่น  องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国会 Kokkai ?) หรือที่เรียก "ไดเอ็ต" เป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ญี่ปุ่น: 衆議院 Shugi-in ?) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระ ดำรงตำแหน่งสี่ปี และมนตรีสภา (ญี่ปุ่น: 参議院 Sangi-in ?) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[47]

ที่มา 
http://board.japanfc.com/index.php?topic=1239.0;prev_next=next

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายและความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศ และ การตลาดระหว่างประเทศ




  
การค้าระหว่างประเทศ ( International  Trade )
การค้าระหว่างประเทศ ( International  Trade )  หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ระหว่างประเทศ ต่างๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจาก แต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่ง ผลิตสินค้าหนึ่งแต่ ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าชนิดหนึ่งที่ตนผลิตได้ ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
     การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ
 ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
     ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
   1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
   4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต
     การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด  ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าต่ำลงไปด้วย
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต 
 ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิต
     การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป
     เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา


การตลาดระหว่างประเทศคืออะไร
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้

 สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อใหสินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ(Multinational)
การค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศแตกต่างกันคือ
                       
                       การค้าระหว่างประเทศเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า และ บริการ ระหว่างประเทศ เนื่องจาก แต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องนำสินค้าชนิดหนึ่งที่ตนผลิตได้ ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง ส่วนการตลาดระหว่างประเทศ คือกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาด เพื่อให้สินค้าและบริการ  สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล หรือ องค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ